ยุทธศาสตร์โรงพยาบาลพรเจริญ ปี 2558

ยุทธศาสตร์โรงพยาบาลพรเจริญ ปี 2558

วันอังคารที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

HA update2012 : ตอนที่ 1 คุณภาพที่เรียบง่ายและได้ผล : คุณภาพคือการทำงานประจำให้ดี

1. คุณภาพคือการทำงานประจำให้ดี

ฟังดูเป็นหลักการง่ายๆ แต่จะทำอย่างไรให้เป็นจริงได้
การฝึกฝนง่ายๆ ต่อไปนี้อาจจะช่วยได้
1. ตระหนักในคุณค่าของงานที่เราทำ
2. ไวต่อการรับรู้สิ่งที่เบี่ยงเบนไปจากสิ่งที่ควรจะเป็น
3. ลงมือปฏิบัติอย่างสร้างสรรค์
สิ่งที่พึงหลีกเลี่ยง
1. หลีกเลี่ยงการตั้งเงื่อนไขกับตัวเองและคนอื่น ถ้าจะเริ่มทำอะไรที่เห็นว่าดีและมีคุณค่าด้วยตัวเองได้ก็ควรเริ่มลงมือทำทันทีโดยไม่ต้องตั้งเงื่อนไขว่าคนอื่นจะมาทำร่วมกับเราด้วยการรอเป็นการเสียโอกาส การลงทุนทำทันทีเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า ยิ่งเริ่มเร็วยิ่งต้นทุนต่ำและมีเวลาเก็บเกี่ยวยาวนานกว่า
2. หลีกเลี่ยงการสร้างความซับซ้อนเกินเหตุ ความซับซ้อนทำให้ต้องลงทุนมาก ใช้เวลามาก เข้าใจยาก และมักจะไม่ยั่งยืน ทุกสิ่งทุกอย่างที่เราทำมีวิธีที่เรียบง่ายกว่าเสมอถ้าเราจะพยายามมองหาวิธีการใหม่ๆ โดยยึดเอาเป้าหมายที่ต้องการบรรลุไว้ให้มั่น ใคร่ครวญว่ามีเหตุผลความจำเป็นอย่างไรที่ต้องทำอย่างที่ทำอยู่ ถอยตัวออกไปแล้วมองเข้ามาด้วยสายตาของคนนอกจะเห็นหนทาง ใหม่ๆ เกิดขึ้นเสมอ 
ไม่ว่าเป็นการทำงานในเรื่องอะไร ให้พยายามใช้ศิลปะ ใช้แว่นแห่งความงาม ใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อดูว่าจะสร้างผลงานที่ดีกว่าได้อย่างไร จะทำให้เราประณีตกับงานที่ทำมากขึ้น มีความสุขกับงานที่อยู่ตรงหน้า ผู้ได้รับผลงานเกิดอารมณ์เชิงบวก และได้ความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
(เจริญสติด้านคุณภาพ) สิ่งที่เบี่ยงเบนนี้อาจจะเป็นเรื่องเล็กน้อยที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรง ไปจนถึงการเกิดเหตุการณ์ที่รุนแรง หากเราฝึกการรับรู้ของเราให้มีความไวพอ แน่วแน่อยู่กับคุณค่าในงานของเรา เราจะสามารถป้องกันเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ได้มากมาย ยิ่งฝึกฝนมากก็จะยิ่งไวมากขึ้น
เป็นการขยายค่านิยมเรื่องการมุ่งเน้นผู้ป่วย (patient focus) ไปสู่สิ่งที่ลึกขึ้นว่าเราให้คุณค่าอะไรแก่ผู้ป่วย (เช่น การดูแลของเราทำให้ผู้ป่วยกลับคืนสู่สภาพที่เป็นปกติ มีศักดิ์ศรี สร้างคุณประโยชน์ให้ผู้อื่น) ซึ่งคุณค่านี้จะเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงตัวเรากับผู้ป่วย และชีวิตกับงานของเราด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2555

ประกาศผลการประกวด CQI & RCA & เรื่องเล่าการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

การประกวด CQI
ชนะเลิศ : การพัฒนาระบบบริการคลินิกเบาหวาน (ตึกผู้ป่วยนอก)
รองชนะเลิศอันดับ 1 : การดูแลผู้ป่วยเพื่อป้องกันไข้ชักซ้ำในเด็กอายุ 6 เดือน - 6 ปี (ตึกผู้ป่วยใน)
รองชนะเลิศอันดับ 2 : การทิ้งผ้าลงในถังไม่ถูกต้องของผู้มารับบริการ (ตึกผู้ป่วยใน)
ชมเชย : การพัฒนาระบบบริการผู้ป่วยนอก (ตึกผู้ป่วยนอก)
ชมเชย : การพัฒนาระบบการให้เลือดที่ปลอดภัย (ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์)
ชมเชย : Miss Diagnosis (เวชระเบียนและเทคโนโลยีสารสนเทศ)
ชมเชย : ใบสั่งยาหายไปไหน (งานประกันสุขภาพ)

การประกวด RCA
ชนะเลิศ : ล้างแผลรอนาน ทรมานใจ (ห้องอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน)
รองชนะเลิศอันดับ 1 : ถือยาเดิมมาตามนัดเพื่อลดยาเหลือใช้&ลดค่าใช้จ่ายด้านยา (ฝ่ายเภสัชกรรมชุมชน)
รองชนะเลิศอันดับ 2 : ล้างดี ไม่มีติดเชื้อ (ห้องผ่าตัด)
รองชนะเลิศอันดับ 2 : การพัฒนาระบบบริการเพื่อพิทักษ์สิทธิ์ของผู้ป่วย (ตึกผู้ป่วยนอก)

การประกวดเรื่องเล่าการบริการด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์
ชนะเลิศ : ขนมแห่งความทรงจำ (คุณอมรรัตน์ สำอางค์เนตร)
รองชนะเลิศอันดับ 1 : เรื่องเล่าเบาหวาน (คุณรัชฎาภรณ์ ขุนพิจารย์)
รองชนะเลิศอันดับ 2 : สุดจะไขว่คว้า (คุณอุไรรัตน์ โคตรสิม)
รองชนะเลิศอันดับ 2 : ห้วงเวลาแห่งความทรงจำ (คุณนิตยา คล่องขยัน)
ชมเชย : เรื่องเล่าเช้านี้ ที่คลินิกสุขภาพจิต (คุณประดิทรรศน์ แดนเขตร)
ชมเชย : นาทีที่ได้ใจเธอ (คุณคณารักษ์ โคตรสิม)
ชมเชย : ความภูมิใจของฉันกับคำว่า "Miss นมแม่" (คุณสาวิตรี บุญชู)
ชมเชย : ปาฏิหารย์มีอยู่จริง (คุณสายฝน วาเสนัง)

วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2555

ชวนชิม SHA

SHA คืออะไร? ทำไม สรพ.จึงมีแนวคิดที่พยายามจะหันมาทำเรื่อง SHA ?
ขออนุญาตหยิบนำเอานิยามความหมายของคำว่า S-H-A  ที่ท่าน ผอ.อนุวัฒน์ แห่ง สรพ. ได้คิดค้นขึ้น




แนวคิดที่ สรพ.หันมาพยายามทำเรื่อง  SHA   เพราะปัจจุบัน องค์กรต่างๆที่ทำงานเหมือนเป็นเครื่องจักร  แล้วทำให้คนในองค์กรเหมือนเครื่องยนต์กลไกที่ไร้ความรู้สึก...

  • เน้นงานที่เชิงปริมาณ

  • แบ่งงานแยกย่อยขาดความเชื่อมโยง

  • งานไม่มีคุณค่าหรือความหมายมากไปกว่าการหารายได้

  • ทำงานโดยไร้ความคิดเห็น  ไม่ต้องรู้สึก  ทำอย่างเดียวหรือทำงานอย่างเดียวซ้ำๆ 

หรือเรียกอีกนัยหนึ่งว่าเป็นองค์กรปรนัยกับวัฒนธรรมตัวชี้วัด  ตามที่ท่านอาจารย์โกมาตร  จึงเสถียรทรัพย์ ท่านว่าไว้...
  • เดินตามช่อง  

  • มองที่เห็น 

  • เน้นตัวชี้วัด 

  • วิสัยทัศน์ไว้ท่องจำ 

  • งานที่ทำไม่มีความหมาย

            จากเหตุผลข้างต้น  นับเป็นสิ่งกระตุ้นสำคัญที่ทำให้ สรพ. ได้พยายามอย่างยิ่งที่จะให้เกิดการบริการด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์  อ่อนโยนต่อทุกชีวิต   เข้าใจความทุกข์ยากของผู้อื่น  เป็นการพัฒนาคุณภาพที่เน้นความประณีต  เพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน...

แล้วจะนำความรู้ที่ได้นั้นกลับมาพัฒนาองค์กรอย่างไร ??

           คำตอบ ...คือเราคงต้องเริ่มที่ตัวเองก่อน  เพราะการจะทำงานคุณภาพให้ได้ผลต้องเริ่มพัฒนาคนก่อนเสมอ  โดยทำให้มาตรฐานเข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวัน   ด้วยการยึดหลักง่ายๆที่ว่า

  • Simplicity    ทำงานประจำทุกอย่างให้ง่ายขึ้น  พัฒนาคุณภาพแบบเรียบง่าย ค่อยเป็นค่อยไป

  • Joyful     สนุกกับการทำงานที่แปลกใหม่และท้าทาย  โดยไร้ความกดดัน

  • Effective   รู้สึกดีต่อตัวเอง  ทีมงาน  และองค์กร

  • Spirituality   ฝ่าฟันอุปสรรคด้วยจิตใจที่มุ่งมั่นและงดงาม

            แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกคนขององค์กร   ที่จะช่วยกันทำให้งานคุณภาพที่เกิดขึ้นนั้นประณีตและยั่งยืนตามที่ สรพ.ต้องการให้เกิดและที่สำคัญคือเพื่อให้ผู้รับบริการหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียประทับใจ  พึงพอใจในบริการที่ได้รับ  เป็นสำคัญ